วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎ บรมอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ 4



หากคุณคิดว่า สมเด็จพระเทพศิรินทร์เป็นอัครมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่4 คุณคิดผิด พระอัครมเหสีพระองค์แรกของรัชกาลที่4
นั้นคือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เรามาอ่านประวัติของพระนางกันเลยครับ
และพระนามของท่านได้ปรากฏเป็นชื่อวัด โสมนัสราชวรวิหาร ครับ ดังที่ใครหลายๆท่านได้ยิน
สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ปฐมบรมราชอัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔
(เก็บความตามพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้าพระราช
ทานเซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษแต่เมื่อกระนั้น) พระขัตติยนารีพระองค์นี้มีพระประสูติวารในวันอาทิตย์ สุรทินที่ ๒๑ เดือนธันวาคมปีมะเมียพุทธศก ๒๓๗๗(เดือนอ้าย แรม ๖ ค่ำ)เป็นพระธิดาองค์เดียวของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ(ชั้น ๓)พระองค์เจ้าลักขณานุคุณซึ่งสิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้วแต่
ในต้นเดือนมิถุนายนปีมะแมพุทธศก๒๓๗๘ เมื่อพระบุตรีพึ่งมีพระชนมายุได้เพียง ๖ เดือน เท่านั้น
ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาเมตตาการุญภาพ ในพระราชนัดดากำพร้าพระองค์นั้นยิ่งนัก โปรดเกล้าฯ ให้เชิญเสด็จเข้ามาจากวังพระบิดาและอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง อย่างพระราชธิดาของพระองค์เอง ทรงเจริญพระชนมายุเกษมสวัสดีมาโดยพระอาทรทะนุถนอมของพระเจ้าป้า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๓)กรมขุนอัปศรสุดาเทพ(พระองค์เจ้าหญิง วิลาศ)ซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลงเสียแต่ในปีมะเส็ง พุทธศก ๒๓๘๘ เมื่อพระภาติกายังทรงพระเยาว์พึ่งมีพระชันษาได้ ๑๒ พรรษาเท่านั้น.

เมื่อสิ้นพระเจ้าป้าเสียแล้วเช่นนี้ สมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิ่งทวีพระเมตตากรุณาหนักขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้หม่อมเจ้าหญิงพระราชนัดดาองค์นี้ เป็นผู้รับทรัพย์มรดกทั้งสิ้นทั้งของพระบิดาและพระเจ้าป้าแต่พระองค์เดียว ทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเสมอพระราชธิดา เป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
เมื่อถึงกำหนดโสกันต์ ในปีมะเมีย พุทธศก ๒๓๘๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ แห่ใหญ่อย่างพระยศเจ้าฟ้าทั้งทรงพระสิเนหายกย่องเฉลิมพระเกียรติศักดิ์นานัปการให้ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น
ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเษกสืบพระบรมราชจักรีวงศ์ สนององค์สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า สกลราชมาตรี รวมทั้งพระรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีมนตรีมุข เป็นพร้อมกันว่า ถึงบัดนั้น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี หามีที่พึ่งพาปกครองอุปถัมภ์บำรุงเหมือนสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้า ซึ่งเสด็จสวรรคตเสียแล้วนั้นไม่ก็พากันสงสาร ทั้งเห็นเป็นสหฉันท์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็พึ่งลาพระผนวชจากภิกษุภาวะ ซึ่งทรงบำเพ็ญพระเนกขัมบารมีมาตั้ง ๒๗ พรรษา ยังหามีพระอัครมเหสีสมพระเกียรติยศตามพระราชประเพณี(อันเป็นพระขัตติยนารี ซึ่งจะได้มีพระราชโอรส สมสืบสันตติวงศ์)ไม่จึงพร้อมใจกันใคร่ให้ได้มีความสัมพันธ์ในระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งราชาภิเษกใหม่ และพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี โดยราชาภิเษกสมรสเฉลิมพระเกียรติยศพระองค์เจ้าหญิงพระองค์นี้ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหาสี จึงได้ตั้งการมงคลราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรส เมื่อ ณ วันอาทิตย์สุรทิน ที่ ๒ เดือนมกราคม ปีกุน พุทธศก ๒๓๙๔ ขณะนั้นพระชนมายุพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ๔๘ พรรษา พระอัครมเหสี ๑๘ พรรษา ปรากฏพระนามาภิไธยสืบต่อมาว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี
ตั้งแต่ราชาภิเษกสมรส ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอัครมเหสีร่วมพระราชหฤทัยพระราชสวามีมาโดยสนิทสนมกลมเกลียว ทั้งในส่วนพระองค์ และทางราขการแผ่นดินเป็นที่เคารพนับถือ และเครื่องบรรณาการจากหัวเมืองประเทศราชใหญ่น้อยทุกสารทิศ และได้ทรงรับความเป็นมิตร
ภาพและบรรณาการจากข้าราชการ และท่านผู้มีศักดิ์ ชาวต่างประเทศ ในนานาประเทศ บรรดาแต่ก่อนเคยผูกมิตรสันถวะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีอักษรติดต่อถึงกัน เพราะฉะนั้นพระนางย่อมเสวยสุขสำเริงพระหฤทัยมาตลอดเวลา ๖ เดือน ซึ่งทรงพระครรภ์ตามปรกติภาพ
ครั้นเดือนถัดไป อุปัทวเหตุอันน่าสยดสยองอย่างเคราะห์ร้ายที่สุดได้ท่วมถึงพระนาง จับทรงพระประชวรโรคถึงสังหารพระชีวิต ซึ่งในชั้นแรกดูเหมือนพอจะรักษาให้หายได้ บรรดาแพทย์หลวงและหมอฝรั่งเชื่อว่า พระภยามัยเช่นนี้ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับสตรีมีครรภ์
ไม่อัศจรรย์ถึงน่าตระหนกตกใจอย่างใดเลย ด้วยเป็นแตทรงพระอาเจียนเนือง ๆ และเบื่อพระอาหารเท่านั้น แต่อาการพระโรครุนแรงขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศก ๒๓๙๕ คือจับปวดพระอุทร แพทย์หลวงถวายอภิบาล ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียน ปวดพระอุทรอยู่เพียง ๔.๕ วัน

ครั้นเดือนถัดไป อุปัทวเหตุอันน่าสยดสยองอย่างเคราะห์ร้ายที่สุดได้ท่วมถึงพระนาง จับทรงพระประชวรโรคถึงสังหารพระชีวิต ซึ่งในชั้นแรกดูเหมือนพอจะรักษาให้หายได้ บรรดาแพทย์หลวงและหมอฝรั่งเชื่อว่า พระภยามัยเช่นนี้ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับสตรีมีครรภ์ไม่อัศจรรย์ถึงน่าตระหนกตกใจอย่างใดเลย ด้วยเป็นแตทรงพระอาเจียนเนือง ๆ และเบื่อพระอาหารเท่านั้น แต่อาการพระโรครุนแรงขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศก ๒๓๙๕ คือจับปวดพระอุทร แพทย์หลวงถวายอภิบาล ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียน ปวดพระอุทรอยู่เพียง ๔.๕ วัน

ตั้งแต่วันจันทรุปราคาที่ ๑ กรกฎาคม ก็ดูเหมือนพระนางหายประชวร ทรงพระสำราญเป็นปรกติตลอดมาได้ราว ๔๐ วัน ครั้นพระครรภ์ล่วงเข้า ๗ เดือน พระโรคปวดพระอุทรก็กลับเป็นมาเหมือนคราวก่อนและจับทรงพระอาเจียนร่ำไปในราตรี วันที่ ๑๐ สิงหาคม ครั้นรุ่งขึ้น ก็ปรากฏพระอาการไข้พระองค์ร้อนยิ่งขึ้น จนวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ้นนั้มก็ทรงพระทุเลาขึ้น เกือบจะทรงพระสบายเหมือนคราวก่อน เป็นแตยังทรงอ่อนเพลียอยู่ เสวยพระอาหารมิใคร่ได้ดังปรกติ ครั้นราตรีวันที่ ๑๗ สิงหาคม พระนางกลับล้มประชวรพระโรคอย่างเดิมอีก แต่ยิ่งร้ายแรงกว่าเคยเป็นมาครั้งก่อน การทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียนก็กำเริบเรื่อยทั้งทิวาราตรีกาล ซ้ำรัญจวนพระอุทรรวดเร้า จนเห็นกันว่าน่าที่จะประสูติพระราชดนัยเสียเป็นแม่แล้วก็เป็นจริงสมคาด.
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม เวลา ๑ นาฬิกาหลังเที่ยง สมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสีประสูติพระราชกุมารบรมราชโอรสโดยเรียบร้อยและมีพระชนม์ เป็นแต่พระกำลังอ่อนและพระองค์ย่อมทรงพระกันแสงและแสดงอาการอย่างชีวิทารกแรกเกิดโดยปรกติ เพราะฉะนั้น จึงเป็นข้อส่อดุษฎีภาพทั่วไป ในมิช้าพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายหน้าก็มาชุมสุมเนืองอนันต์ เพื่อชื่นชมพระบารมีถวายพระพรรัชทายาทซึ่งเสด็จอวตารมาโดยมหาประสูติ
ชาวประโคมก็ประโคมดุริยดนตรีเป่าสังข์กระทั่งแตรย่ำฆ้องชัยนฤนาถเพื่อสำแดงโสมนัสประโมทย์ในมหามงคลฤกษ์ เชิญพระราชโอรสบรรทม ณ พระแท่นแว่นฟ้าทองหุ้มด้วยพระกระโจมเศวตวัตถา สองพระแสงราชาวุธ พระสุด และดินสอ ฯลฯไว้รอบล้อมตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ระแวดระวังพิทักษ์พระกุมารอย่างกวดขัน แต่ต่อเวลาพระประสูติมาอีก ๓ ชั่วโมงเท่านั้น พระอัสสาสะปัสสาสะพระราชกุมารก็หยุดลงเสียเฉย ๆ ใน ๔ นาฬิกาหลังเที่ยงวันนั้น พระชีพดำรงอยู่ได้น้อยเวลานัก
เจ้าพนักงานเชิญพระศริระพระกุมาร(ลงกุมภ์ขนัน)ไปเสียเป็นการลับมิให้พระนางราชมารดาทราบเงื่อนสาย ทำประหนึ่งว่าเชิญไปพิทักษ์ไว้ในห้องอื่น ด้วยแม้ประสูติพระราชกุมารแล้วพระอาการพระนางก็ยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม และในราตรีแรกพระอาการยิ่งกลับทรุดลงโดยทรงพระ
อาเจียนจะเสียพระชีพลงในราตรีวันที่ ๒๓ สิงหาคม นั้นอยู่ร่อแร่ ได้ประชุมแพทย์หลวงปรึกษากันเพื่อพยายามแก้ไขให้ฟื้น แต่ไม่มีแพทย์ไหนสามารถให้สงบพระอาเจียรได้แม้แต่เพียงครึ่งชั่วโมง พระบรมวงศ์เธอ (ชั้น๒)กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงพยายามถวายยาฝรั่งเพียง ๑
หรือ ๒ หยด ฤทธิ์ยานั้นระงับพระอาเจียนซึ่งพระนางต้องทรงพระทรมานความลำบากมาเกือบตลอดคืนนั้นให้สงบลงได้ ค่อยทรงพระสบายถึงบรรทมหลับได้เมื่อ ๔ หรือ ๕ นาฬิกาก่อนเที่ยง
ครั้นรุ่งขึ้น (วันที่ ๒๓ สิงหาคม) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ(ชั้น๒) กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และพระเจ้าบรมวงศ์ พระอนุวงศ์ องค์อื่นอีกหลาย ทั้งพระญาตินางในประชุมปรึกษากับแพทย์หลวงมากท่าน เพื่อจะให้หมอ ดี.บี.บรัดเล ผู้เป็นหมออเมริกันซึ่งบัดนั้นอยู่ในกรุงสยาม และตรัสให้เชิญมาปรึกษาหารือด้วยนั้นถวายอภิบาล


ลำดับนั้น หมอ ดี.บี.บรัดเล ก็เริ่มรักษาตามวิธีแพทย์ฝรั่งอย่างใหม่ ซึ่งหมอผู้น้นเองเพิ่งพามาใช้ในกรุงสยาม ในจำพวกชาวสยามไม่มีใครใคร่เชื่อนัก มีแต่เห็นจำเป็นสมควรจะปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระนางเอง เพื่อให้ถวายอภิบาลตามลัทธิของไทยที่เคยใช้ในยามสตรีคลอดบุตรตามปรัมปรามา พระนางก็ต้องบรรทมเพลิงอย่างใช้กันทั่วประเทศ เมื่อแม่หญิงคลอดบุตร ถ้าจะห้ามเสียตามคำแนะนำของหมอฝรั่ง ทั้งขับนางในซึ่งรอบล้อมพระนางอยู่ให้ออกเสียสิ้น เหลือไว้น้อยนางเฉพาะที่นิยมนับถือหมอฝรั่ง ฉะนั้น ก็ย่อมจะเป็นข้อเดือดร้อนทั่วไป
ตั้งแต่หมออเมริกันถวายอภิบาลอย่างฝรั่งมา ดูเหมือนพระอาการไม่ดีขึ้นเลย การที่ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียนทั้งทรงสะท้านไข้ ก็ยังเป็นอยู่เสมอเป็นครั้งคราวไม่ระงับได้ขาดตลอดเวลา ๗ หรือ ๘ วัน เมื่อถึงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ ๗ จำเดิมแต่เจ้าฟ้าพระราชโอรสน้อยของพระนางสิ้นพระชนม์ (เจ้าฟ้าเป็นคำนำพระนามอันสมพระอิสริยยศพระราชโปดก ซึ่งประวัติจากพระเจ้าแผ่นดินและพระอัครมเหสีหรือพระขัตติยนารีอันสูงศักดิ์ หรือประสูติจากเจ้านายชั้นอื่น ๆ บรรดาพระมารดาทรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าหรือเป็นเจ้าฟ้าทั้งอุภโตปักษ์ ในประเทศสยาม)พระนางเจ้าทรงทราบข่าวสิ้นพระชนม์แห่งเจ้าฟ้าพระราชโอรส จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอัครมเหสีพร้อมกันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายมหัคฆภัณฑ์แด่พระสงฆ์พุทธชิโนรส บรรดามาชุมนุมและทรงโปรยทานบรรจุเงินตราสยามในผลมะนาวพระราชทาน แด่บรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งฝ่ายในฝ่ายหน้าบรรดาเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในเวลาทรงบำเพ็ญทักษิณาทานุทิศนั้น การเช่นนี้เป็นประเพณีการพระศพสมเด็จพระราชโอรสเจ้าฟ้า(ต่อมาออกพระนามว่าเจ้าฟ้าโสมนัส) พระโอรสของสมเด็จพระนางเจ้า แม้มีพระชนม์อยู่เพียงชั่วสามนาฬิกาก็ยังคงได้ทรงรับพระเกียรติยศสมพระอิสริยศักดิ์


ตั้งแต่วันที่ ๒๔ และ ๓๐ สิงหาคมมา พระอาการสมเด็จพระอัครมเหสีก็ทรุดลง พระอาเจียนเป็นสีดำสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งแพทย์หลวงว่าเพราะน้ำพระดีผสมกับสิ่งอื่นในพระอันตะอันพิการนั้นหลั่งไหล ไข้ซึ่งเคยทรงจับนั้นก็สะท้านรุนแรงมากขึ้น จนพระเทพจรเต้นรุกเร่งถี่มาก หมอบรัดเลจึงกราบทูลอุทรณ์ต่อองค์สมเด็จพระนางเจ้าเอง และพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ขอให้เชิญเสด็จพระนางออกพ้นจากการบรรทมเพลิงอย่างธรรมเนียมไทย ให้หมอได้ถวายอภิบาลอย่างฝรั่งเต็มที่ตามพอใจทุกประการเถิดก็ได้พระอนุญาตตามปรารถนา เมื่อถวายอภิบาลอย่างฝรั่งเต็มที่ ในชั้นแรกพระอาการสมเด็จพระนางเจ้าดูเหมือนจะค่อยทุเลาขึ้นโดยหยุดทรงคลื่นเหียนและไม่ทรงพระอาเจียนทั้งไข้ก็ไม่ทรงจับ แต่ยังเสวยมิใคร่ได้ ทั้งยังทรงอ่อนเพลียเป็นกำลัง
ปรากฏพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ จนถึงวันที่ ๑๑ กันยายน ทรงพระโศผะขึ้นที่พระบาทและพระอติสารอาการปรากฏแก่แพทย์หลวงและพระญาติพระมิตรข้าหลวง ต่างพากันตระหนกตกใจ ปรึกษากันตกลงขอให้ลองให้แพทย์หลวงถวายอภิบาลอย่างไทยอีก พูดตามจริง องค์สมเด็จพระนางเจ้าเองก็ทรงสำนึกมิพอพระทัย ด้วยเป็นฝรั่งทรงเห็นว่าเป็นแขกบ้านค้านเมือง ทั้งวิธีถวาย
อภิบาลอย่างฝรั่งซึ่งถวายพระโอสถมีหยดสุราลงในน้ำใสเพียง ๑ หรือ ๒ ฉลองพระหัตถ์เท่านั้น ให้เสวยบ่อย ๆ ทั้งถ้อยคำของหมอฝรั่งคนนั้น หรือคนไทยที่เชื่อถือหมอ ก็จวนจะไม่น่าเชื่อได้เสียเลย ด้วยหมอรับว่ายังไม่เคยมีตัวอย่างคนไข้ที่ไหนที่หมอเคยรักษามีอาการเหมือนองค์พระนางเลยแต่สักรายเดียว
เมื่อกลับให้แพทย์ไทยถวายอภิบาลอย่างไทยได้ตั้งสามวัน พระอาการพระนางจะค่อยทุเลาขึ้นแม้น้อยก็หามิได้ มีแต่ทรุดหนักลง ทั้งไม่มีหมอหลวงผู้ใดกล้ากราบบังคมทูลพระกรุณายืนยันรับแก้ไขให้ทรงพระสำราญขึ้นได้ เหตุฉะนี้จึงรับสั่งให้หาหมอบรัดเลกลับมาถวายอภิบาลอีกดังเดิม พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้วิธีรักษาสุดแต่ใจ
เมื่อเวลาแพทย์สยามถวายอภิบาลนั้น พระอาเจียนสีดำ สีเหลืองและสีเขียวก็ยังมีอยู่เรื่อยไป ทั้งยอกเสียดในพระอุระประเทศก็ซ้ำแทรกมา วันหนึ่ง ๆ เป็นตั้ง ๗ หรือ ๘ ครั้ง ตั้งแต่ให้หมอบรัดเลกลับถวายอภิบาลใหม่อย่างลัทธิฝรั่งอย่างใหม่ (เลิกใช้ลัทธิอย่างเก่าที่หมอเคยใช้มานมนาน)


ถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ดูเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าทรงพระทุเลาขึ้นเล็กน้อย ด้วยมิใคร่จะทรงพระอาเจียนเป็นสีดำหรือสีเหลืองและสีเขียวซึ่งคาดกันว่าน้ำพระดีไหลลงในพระทรวงก็ห่างและน้อยกว่าวันก่อน ๆ พระไข้ก็สงบแปลกกว่าแพทย์หลวงยังรักษาอยู่ แต่ยังทรงอ่อนเพลียและการทรงปฎิเสธมิเสวยพระอาหารก็ยังคงอยู่ เพราะยังทรงพระอาเจียนอยู่เหมือนทุกๆ วัน ด้วยไม่เคยมีวันใดที่ที่ทรงพระอาเจียนเลย แม้จะถวายพระโอสถไทยฝรั่งขนานไหน ๆ ก็ระงับขาดมิได้เสียทั้งนั้น
เวลาล่วงไปน้อยราตรี หมอบรัดเลก็ไม่สามารถจะบรรเทาพระอาเจียนให้น้อยลงได้ ซ้ำกลับบ่อยๆ หนักขึ้น พื้นพระอาการออกน่าสะทก ด้วยพระฉวีที่พระพักตร์และพระองค์ก็เหลืองแลเห็นถนัด เหตุฉะนั้นจึงต้องปล่อยให้หมอหลวงฝ่ายไทยถวายอภิบาลต่อไปอีกดังเดิม แต่แพทย์หลวงทั้งสิ้นไม่มีใครกล้ารับที่จะฉลองพระเดชพระคุณแก้ไขให้หายหรือแม้จะให้บรรเทาได้ไหว โดยหมดวิชาและสติปัญญาจะประกอบพระโอสถ เหตุฉะนั้น จึงทราบพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ป่าวร้องประกาศจะพระราชทานบำเหน็จเงินตรา ๒ หาบ หากผู้ใดสามารถแก้ไขให้พระอัครมเหสีที่ทรงพิศวาสพ้นมรณามัยพินาศกลับคืนทรงพระสบายปรกติดังเดิมได้

จำเดิมแต่พระอาการทรุดหนักลงในมือหมอบรัดเล พระเทพจรก็เร็วทวีขึ้น ถึง ณ วันที่ ๒๗ กันยายน จับเฟือนพระสติ เพราะเมื่อวันประกาศป่าวร้องไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ตั้งบำเหน็จพระราชทาน ๒ หาบ ถ้าผู้ใดแก้ไขสมเด็จพระอัครมเหสีให้ฟื้นจากพระโรคาพาธเป็นปรกติได้นั้น มีหมอเฒ่าไทยเชลยศักดิ์ผู้หนึ่งเข้ามาอาสาฉลองพระเดชพระคุณ ด้วยยาศักดิ์สิทธิ์จนสุดกำลัง แต่ขอตรวจพระอาการก่อน ก็ได้พระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าและตรวจตรา แต่หมอเฒ่าเข้าใจพระโรคผิด อ้างว่า พระโรคพระอัครมเหสีมากมายไปนั้นเพราะรักษาผิดคัมภีร์ภาคครรภรักษา โดยพระนางบรรทมเพลิงน้อยเวลานัก
หมอเฒ่าสมัครจะรักษาด้วยยาศักดิ์สิทธิ์ให้หายเป็นปลิดทิ้งจงได้วาจายืนยันมั่นคงของหมอเฒ่านี้พระนางเจ้าอัครมเหสีทรงหายพระทัยครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศก ๒๓๙๕ เพลา ๖ นาฬิกาหลังเที่ยง เสียงโศกาลัยอาดูรภาพปริเทวนาการแห่งพระประยูรวงศาข้าหลวงในราชสำนักขณะนั้นสร้าสนั่น น่าอเนจอนาถยิ่งนัก

จำเดิมแต่พระอาการทรุดหนักลงในมือหมอบรัดเล พระเทพจรก็เร็วทวีขึ้น ถึง ณ วันที่ ๒๗ กันยายน จับเฟือนพระสติ เพราะเมื่อวันประกาศป่าวร้องไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ตั้งบำเหน็จพระราชทาน ๒ หาบ ถ้าผู้ใดแก้ไขสมเด็จพระอัครมเหสีให้ฟื้นจากพระโรคาพาธเป็นปรกติได้นั้น มีหมอเฒ่าไทยเชลยศักดิ์ผู้หนึ่งเข้ามาอาสาฉลองพระเดชพระคุณ ด้วยยาศักดิ์สิทธิ์จนสุดกำลัง แต่ขอตรวจพระอาการก่อน ก็ได้พระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าและตรวจตรา แต่หมอเฒ่าเข้าใจ
พระโรคผิด อ้างว่าพระโรคพระอัครมเหสีมากมายไปนั้นเพราะรักษาผิดคัมภีร์ภาคครรภรักษา โดยพระนางบรรทมเพลิงน้อยเวลานัก หมอเฒ่าสมัครจะรักษาด้วยยาศักดิ์สิทธิ์ให้หายเป็นปลิดทิ้งจงได้ วาจายืนยันมั่นคงของหมอเฒ่านี้พระนางเจ้าอัครมเหสีทรงหายพระทัยครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศก ๒๓๙๕ เพลา ๖ นาฬิกาหลังเที่ยง เสียงโศกาลัยอาดูรภาพปริเทวนาการแห่งพระประยูรวงศาข้าหลวงในราชสำนักขณะนั้นสร้าสนั่น น่าอเนจอนาถยิ่งนัก
ได้สรงพระศพพระนางเจ้า และทรงเครื่องขัตติยมราภรณ์ศุกลัม ตามพระราชประเพณี พระอัครมเหสีอันสูงศักดิ์ สมพระเกียรติยศอย่างเต็มที่ ห่อด้วยกัปบาสิกะเศวตพัสตร์หลายชั้น แล้วเชิญลงพระลองทอง และสรวมพระชฎากษัตริย์เหนือพระศิโรเพศประกอบพระโกศทอง แห่จากพระตำหนักพระอัครมเหสีในราตรีนั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานไว้เหนือพระแท่นแว่นฟ้า ตรงที่ตั้งพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานอยู่ไตรรัตน์มาส คือ แต่เดือนเมษายน พุทธศก ๒๓๙๔ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ศกนี้
พระศพสมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสีพระองค์นี้ก็ประดิษฐานไว้โดยมหศักดิ์สมพระเกียรติยศอย่างสูง ประดับรอบล้อมไปด้วยสรรพสิ่งอลงกตทั้งปวง บรรดาเฉลิมพระอิสริยยศจนกว่าจะได้พระราชทานเพลิง ซึ่งคงจะกินเวลาราว ๔ หรือ ๕ เดือน ด้วยการสร้างพระเมรุ และประกอบการพระราชพิธีสมพระอิสริยศักดิ์ บางทีจะตกราวเดือนมีนาคมศกนี้หรือเดือนเมษายนศกหน้า (๑๙ มีนาคม ๒๓๙๖)

สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี ผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐพระองค์นี้ เป็นพระราชบุตรีบุญธรรมที่ทรงพิศวาสอย่างยิ่งยวดของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาแต่ยังทรงพระเยาว์ และเลื่อนพระอิสริยยศในราชตระกูลสูงขึ้นจนพระชันษา ๑๓ ปี ทรงดำรงศักดิ์สูงสุดเสมอเจ้าฟ้าพระราชธิดาฝ่ายใน
และได้เป็นพระอัครมเหสีคู่พิศวาสของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าแผ่นดินสยาม มาแต่เมื่อเริ่มคริสตศักราชศกนี้ ทรงพระสำราญพระชนม์ชีพร่วมสันนิวาสกับพระบาทสมเด็จพระบรมราชสวามี โดยถูกต้องขัตติยนิติ
ราชประเพณีผู้เป็นมหากษัตราธิราชสยาม ดำรงพระอิสริยศักดิ์อย่างสูงสุด โดเกษมสวัสดิ์มาได้เพียง ๗ เดือนคือแต่เดือนมกราคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม แต่จำเดิมแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม จนวันที่ ๑๐ ตุลาคม รวม ๒ เดือน หรือ ๖๒ วัน พระนางทรงพระประชวร เมื่อฉะนี้พระนางทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นพระอัครมเหสีอยู่เพียง ๙ เดือน และเศษ
อีกน้อยวันเท่านั้น โดยเหตุที่พระนางมาสู่สวรรคตเสียด้วยอุบัติเหตุ แต่ในเวลากำลังทรงพระวัยเป็นยุพดีกษัตรีย์ทั้งทรงพระคุณสมบัติสมควรเคารพนับถืออย่างยิ่งยอด และยังมีทางจะทรงพระเจริญรุ่งเรืองสืบไปภายหน้า เริ่มแต่ได้เสวยสุขสำเริงอย่างเต็มเปี่ยมมาได้น้อยเวลาฉะนี้ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และท่านผู้อื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ใช่แต่ในกรุงสยาม แต่ยังลามไปถึงอเนกนิกรมนุษย์ในแว่นแคว้นชาวเมืองต่างประเทศด้วย

เมื่อพระอัครมเหสีสวรรคตแล้ว บรรดาแพทย์ ไทย จีน และอเมริกา ลงความเห็นกันว่ามีเหตุอันน่าเชื่ออย่างยิ่ง ที่จะรู้หรือจะเชื่อว่า มูลพระโรคซึ่งยากที่จะบำบัดอย่างยิ่งและในที่สุดถึงทำลายพระชีวิตอันมีค่าสูงสุด แห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสี ได้เกิดขึ้นโดยลับ ๆ
มาแต่ก่อนราชาภิเษกสมรสกับพระบาททสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นแล้ว ด้วยพระนางทรงอวบพระองค์ผิดธรรมดานารีซึ่งมีวัยเสมอพระนาง และกลับซูบพระกายลงทันทีทั้งทรงพระกาสะด้วยแต่พระปฐมอาการประชวรของพระนางนั้น ภายหลังมาปรากฏขึ้นแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายนนี้
ดังกล่าวแล้วข้างต้นโดยเหตุที่สมเด็จพระนางเจ้าอัครมเหสีพระองค์นี้ แต่เบื้องหลังหม่อมเจ้ากำพร้าพระบิดา และได้มาเป็นพระราชบุตรีบุญธรรมของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินโดยเดชะพระมหากรุณาธิคุณ พระนางจึงเป็นผู้รับมรดก ทั้งสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ บรรดาเป็นของพระบิดา
และพระเจ้าป้า ถึงบัดนี้พระนางหามีพระภาดา หรือพระภคินี ร่วมหรือต่างพระชนนีองค์ใดองค์หนึ่งอีกไม่ เพราะพระนางทรงเป็นพระธิดาโทนของพระชนกของพระนาง จึงบัดนี้หามีตัวทายาทผู้จะรับพระมรดกไม่ บรรดาทรัพย์ศฤงคารของพระนางทั้งสิ้น รวมทั้งตัวเงินตราก็มากทั้งเงินขึ้นประจำปี
หรือพระสมบัติส่วนพระองค์นั้นก็จำต้องตกเข้าพระคลังหลวง เมื่อเสร็จงานพระเมรุพระราชทานเพลิงแล้วตามอย่างธรรมเนียมพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ได้ตกลงพระราชหฤทัยว่า พระสมบัติของพระนางส่วนหนึ่งเป็นจำนวนเงินมาก จะได้จ่ายเพื่อเพิ่มพูนทักษิณกุศล บูรณะสังฆาวาสของพระบิดา
(บางทีจะเป็นวัดราชนัดดาอุทิศถวาย)และของพระเจ้าป้าของสมเด็จพระนางเจ้า(คือวัดเทพธิดา) แต่อีกส่วนหนึ่งจะได้จ่ายสร้างพระอารามใหม่ ที่เขตกำแพงเมืองใหม่แห่งพระมหานครนี้ในพระนามาภิไธยของพระนางว่า “วัดโสมนัสวิหาร”และที่เหลือนอกนั้นจะได้จ่ายบุรณะปฏิสังขรณ์
พระอารามอันจำเป็นต้องช่วยเหลือ เพื่อสาธารณประโยชน์แห่งพระมหานครนี้

อนึ่งเพราะมีคนที่พระนางทรงรู้จักมักคุ้นอยู่แทบจะทุกหัวเมืองในสยามราชอาณาจักรและเมืองใกล้เคียง ยังมีแม้บางท่านในเมืองต่างประเทศ คือ จีน แขก ชวา เป็นต้น บรรดาเป็นพระสหายสนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ย่อมเป็นพระมิตรของพระนางด้วย เพราะภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เหตุฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จดหมายเหตุพระอาการทรงพระประชวรและสวรรคต แห่งสมเด็จพระอัครมเหสีนั้นเป็นภาษาสยาม สำหรับประกาศให้ทราบทั่วพระราชอาณาจักรสยาม รัฐมณฑล และเมืองใกล้เคียงทุกทิศานุทิศ ทั้งให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อได้พิมพ์ส่งไปให้ทราบพระประวัติแห่งพระอัครมเหสีแต่ต้นจนสวรรคต
แก่พระสหายของพระนางที่เป็นชาวอังกฤษ ฯลฯ จะได้ทราบแน่ ถึงเรื่องพระนางโดยมิต้องสืบสวน และเข้าใจไปต่าง ๆ .

ต่อมาในรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎ บรมอัครราชเทวี ถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกใน รัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
แต่มิใช่ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ในรัชกาลต่อๆมา

พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4



เนื่องจากตอนนี้ผมศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ขอนำเอาประวัติของบุคคลที่ใช้พระนามของตัวเองมาตั้งเป็นชื่อโรงเรียนครับ


สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี หรือพระนามเดิม หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ (๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ - ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔) พระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์รองในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุลศิริวงศ์ กับหม่อมน้อย ทรงมีพระพี่ยา พระน้องยา และพระน้องนางเธอ ต่างพระมารดา รวม ๘ พระองค์ คือ

หม่อมเจ้ามงคล ศิริวงศ์ ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๖)
หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์
หม่อมเจ้าหญิงชมชื่น ศิริวงศ์ ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๓๖)
หม่อมเจ้าหญิงพื้นพงศ์ ศิริวงศ์ ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๓) ภายหลังรัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท
หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สันทน์ ศิริวงศ์
หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ศิริวงศ์ ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็นพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
หม่อมเจ้าฉายเฉิด ศิริวงศ์ (หรือ ฉายฉันเฉิด) ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๘) ภายหลังรัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์
หม่อมเจ้าหญิงสารพัดเพชร ศิริวงศ์
หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ ศิริวงศ์ ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๒) ภายหลังรัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ทรงเริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งพระมเหสี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้า พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระนามว่า พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ [1] ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ สิริรวมพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ [1] และในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์ คือ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๕๓)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี) (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๐๖)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี) (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๔๓)
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์) (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๗๑)

การประชวร
นับตั้งแต่พระราชโอรสองค์เล็กประสูติ พระองค์ก็ทรงประชวรมากแต่ก็ทรงตรัสว่า "ไม่เป็นอะไรมากหรอก" แม้จะทรงไอมากก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขา เกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระองค์ไว้ดังนี้

“…แต่แม่รำเพย ตั้งแต่คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์มาแล้ว ป่วยให้ไอและซูบผอมมากไป กลัวจะตั้งวรรณโรคภายใน”

อีกฉบับหนึ่ง ทรงบรรยายถึงการสิ้นพระชนม์ไว้อย่างละเอียดดังนี้

“…เวลาเช้าแม่รำเพยไออาเจียนเป็นโลหิตออกมามาก ออกทางจมูกออกทางปาก ได้ตัวสัตว์ออกมากับทั้งโลหิตตัวหนึ่ง มีอาการคล้ายสัตว์ตัวหนอนเล็กหางเป็นสามแฉก แต่หมอยังแก้ไขก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อยจางไปแล้ว"

“ครั้น ณ วันอาทิตย์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืน เธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยามไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นอีกเวลาสามโมงเช้า รับประทานอาหารได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับบุตรเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วก็เป็นโลหิตพลุ่งพล่านมากเป็นที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจ พอโลหิตมากแล้วชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียวไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพ ในโกศตั้งไว้ที่ตึกต้นสน แต่ตกแต่งตึกเสียใหม่ให้งามดี เพดานและบานประตู บานหน้าต่างปิดลายเงิน ฝาผนังปิดกระดาษลาย และตกแต่งสิ่งอื่นมากพอสมควร ครั้นจะยกขึ้นไปไว้บนพระมหาปราสาท เห็นว่าจะกีดขวางการพระราชพิธีไม่พอที่ แต่เท่านั้นก็ดีอยู่แล้ว ศพจะเอาไว้นาน ต่อเดือนสี่เดือนห้าจึงจะได้เผา เดี๋ยวนี้ก็รับประทานทำบุญต่างๆ มีเทศนาและบังสกุลอยู่เนืองๆ…ที่ให้เป็นอนุเคราะห์แก่ชายจุฬาลงกรณ์ หญิงจันทรมณฑล ชายจุตุรนตรัศมี ชายภาณุรักษีสว่างวงศ์ บุตรแม่เพยทั้งสี่ก็มีบ้าง กระหม่อมฉันคิดขอบบุญขอบคุณท่านทั้งปวงครั้งนี้นั้นหนักหนา แม่เพยตายลงครั้งนี้ เมื่อดูอาการก็ควรจะตายอยู่แล้ว ด้วยป่วยโรคนี้มาตั้งแต่เสาะแสะมาถึงห้าปี ตั้งแต่ปีมะเส็งมารักษาก็หลายหมอหลายยาแล้ว ไม่หาย จึงเห็นว่าถึงคราวที่จะสิ้นอายุตายอยู่แล้ว"

“อายุนับปี เท่ากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์บิดานั้น เหมือนกับชายมงคลเลิศซึ่งเป็นพี่ชายว่าโดยละเอียดไป กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีอายุนับวันตั้งแต่วันเกิดจนวันตายได้ 9,639 วัน ชายมงคลเลิศนับอายุตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย 9,903 วัน มากกว่ากรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 284 วัน มากกว่าชายมงคลเลิศ 20 วัน”

ตำนานวันสงกรานต์

ใกล้ถึงวันสงกรานต์แล้วผมขอเสนอ ตำนานวันสงกรานต์ให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ

นานมาแล้ว มีเศรษฐีอยู่คนหนึ่ง มีสมบัติเงินทองมากมาย แต่ไม่มีทายาทสืบสกุล จึงถูกยาจกผู้มีบุตรมากซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กัน พูดจาดูถูก ว่าสมบัติของท่านแม้มีมากมาย ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีทายาทไว้สืบสกุล เศรษฐีผู้นั้นจึงได้บวงสรวงทำพิธีขอบุตร แต่ผ่านมาเนิ่นนาน ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้ จนในที่สุด เศรษฐีก็ได้มาขอบุตรจากพระไทร พระไทรรู้สึกสงสาร จึงได้มาทูลขอจากพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรจุติลงมาเกิดเป็นบุตรของเศรษฐีผู้นั้น

ธรรมบาลกุมารเติบโตมาเป็นเด็กฉลาดเฉลียว สามารถเรียนไตรเทพจบตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานก ความดังกล่าวรู้ถึงท้าวกบิลพรหม จึงต้องการทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร จึงเสด็จมาโลกมนุษย์ ตั้งคำถามธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ คือ ตอนเช้าราศีอยู่ที่ใด กลางวันราศีอยู่ที่ใด ตอนเย็นราศีอยู่ที่ใด โดยตกลงกันว่า ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบคำถามได้ภายใน 7 วัน จะต้องตัดศีรษะบูชาท้าวกบิลพรหม แต่ถ้าสามารถตอบได้ ท้าวกบิลพรหม จะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมารเช่นกัน

จนเวลาผ่านไปได้ 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ แต่ระหว่างที่นั่งพักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ก็ได้ยินพวกนกคุยกัน ว่าพรุ่งนี้ไม่ต้องออกหาอาหารแล้ว จะรอกินร่างกายของธรรมบาลกุมารที่ไม่สามารถตอบคำถามของท้าวกบิลพรหมได้ และนกยังได้พูดคุยกันถึงเรื่องคำถามคำตอบว่า ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงต้องเอาน้ำล้างหน้า กลางวันราศีอยู่ที่อก มนุษย์จึงเอาน้ำพรมอก ตอนเย็นราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างเท้า ธรรมบาลกุมารจึงจดจำคำตอบไว้

พอธรรมบาลกุมารสามารถตอบคำถามได้ ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรตามคำสัญญา แต่ด้วยว่าเศียรของท้าวกบิลพรหมนั้น หากตกต้องพื้นดิน พื้นดินก็จะลุกเป็นไฟ หากตกลงในมหาสมุทร น้ำก็จะเหือดแห้งหมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้งเจ็ดมา โดยให้นำพานมารองรับเศียร แล้วนำไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ แล้วนำเข้าไปเก็บในมณฑปถ้ำธุลีที่เขาไกรลาศ พอครบกำหนดพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ก็ให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดกันนำเศียรมาแห่เวียนรอบเขาพระสุเมรุเป็นประจำทุกปี...

เพลงลาวดวงเดือน

~~~~ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน~~~~

เรียบเรียงโดย อาจารย์สันติเทพ ศิลปบรรเลง

"โอ้ละหนอ...ดวงเดือนเอย... ข้อยมาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง..."




เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้
และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ

ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม
หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์
พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ
ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕

พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ
เมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง
กระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก
เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง
และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง
โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย
ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์
เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาท์ยประจำวัง
มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ

ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษา
จากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่
อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น
สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมลฑลพายัพ
ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์
อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด้จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย
ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฎว่ามีเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้ยยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!
ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมลฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน

นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็ยนิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริ์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น

เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา

เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย

บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...

โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ

โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...
นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอีดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยมบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนมชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกาน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน...