
หากคุณคิดว่า สมเด็จพระเทพศิรินทร์เป็นอัครมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่4 คุณคิดผิด พระอัครมเหสีพระองค์แรกของรัชกาลที่4
นั้นคือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เรามาอ่านประวัติของพระนางกันเลยครับ
และพระนามของท่านได้ปรากฏเป็นชื่อวัด โสมนัสราชวรวิหาร ครับ ดังที่ใครหลายๆท่านได้ยินสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ปฐมบรมราชอัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔
(เก็บความตามพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้าพระราช
ทานเซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษแต่เมื่อกระนั้น) พระขัตติยนารีพระองค์นี้มีพระประสูติวารในวันอาทิตย์ สุรทินที่ ๒๑ เดือนธันวาคมปีมะเมียพุทธศก ๒๓๗๗(เดือนอ้าย แรม ๖ ค่ำ)เป็นพระธิดาองค์เดียวของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ(ชั้น ๓)พระองค์เจ้าลักขณานุคุณซึ่งสิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้วแต่
ในต้นเดือนมิถุนายนปีมะแมพุทธศก๒๓๗๘ เมื่อพระบุตรีพึ่งมีพระชนมายุได้เพียง ๖ เดือน เท่านั้น
ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาเมตตาการุญภาพ ในพระราชนัดดากำพร้าพระองค์นั้นยิ่งนัก โปรดเกล้าฯ ให้เชิญเสด็จเข้ามาจากวังพระบิดาและอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง อย่างพระราชธิดาของพระองค์เอง ทรงเจริญพระชนมายุเกษมสวัสดีมาโดยพระอาทรทะนุถนอมของพระเจ้าป้า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๓)กรมขุนอัปศรสุดาเทพ(พระองค์เจ้าหญิง วิลาศ)ซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลงเสียแต่ในปีมะเส็ง พุทธศก ๒๓๘๘ เมื่อพระภาติกายังทรงพระเยาว์พึ่งมีพระชันษาได้ ๑๒ พรรษาเท่านั้น.
เมื่อสิ้นพระเจ้าป้าเสียแล้วเช่นนี้ สมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิ่งทวีพระเมตตากรุณาหนักขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้หม่อมเจ้าหญิงพระราชนัดดาองค์นี้ เป็นผู้รับทรัพย์มรดกทั้งสิ้นทั้งของพระบิดาและพระเจ้าป้าแต่พระองค์เดียว ทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเสมอพระราชธิดา เป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
เมื่อถึงกำหนดโสกันต์ ในปีมะเมีย พุทธศก ๒๓๘๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ แห่ใหญ่อย่างพระยศเจ้าฟ้าทั้งทรงพระสิเนหายกย่องเฉลิมพระเกียรติศักดิ์นานัปการให้ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น
ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเษกสืบพระบรมราชจักรีวงศ์ สนององค์สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า สกลราชมาตรี รวมทั้งพระรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีมนตรีมุข เป็นพร้อมกันว่า ถึงบัดนั้น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี หามีที่พึ่งพาปกครองอุปถัมภ์บำรุงเหมือนสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้า ซึ่งเสด็จสวรรคตเสียแล้วนั้นไม่ก็พากันสงสาร ทั้งเห็นเป็นสหฉันท์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็พึ่งลาพระผนวชจากภิกษุภาวะ ซึ่งทรงบำเพ็ญพระเนกขัมบารมีมาตั้ง ๒๗ พรรษา ยังหามีพระอัครมเหสีสมพระเกียรติยศตามพระราชประเพณี(อันเป็นพระขัตติยนารี ซึ่งจะได้มีพระราชโอรส สมสืบสันตติวงศ์)ไม่จึงพร้อมใจกันใคร่ให้ได้มีความสัมพันธ์ในระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งราชาภิเษกใหม่ และพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี โดยราชาภิเษกสมรสเฉลิมพระเกียรติยศพระองค์เจ้าหญิงพระองค์นี้ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหาสี จึงได้ตั้งการมงคลราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรส เมื่อ ณ วันอาทิตย์สุรทิน ที่ ๒ เดือนมกราคม ปีกุน พุทธศก ๒๓๙๔ ขณะนั้นพระชนมายุพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ๔๘ พรรษา พระอัครมเหสี ๑๘ พรรษา ปรากฏพระนามาภิไธยสืบต่อมาว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี
ตั้งแต่ราชาภิเษกสมรส ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอัครมเหสีร่วมพระราชหฤทัยพระราชสวามีมาโดยสนิทสนมกลมเกลียว ทั้งในส่วนพระองค์ และทางราขการแผ่นดินเป็นที่เคารพนับถือ และเครื่องบรรณาการจากหัวเมืองประเทศราชใหญ่น้อยทุกสารทิศ และได้ทรงรับความเป็นมิตร
ภาพและบรรณาการจากข้าราชการ และท่านผู้มีศักดิ์ ชาวต่างประเทศ ในนานาประเทศ บรรดาแต่ก่อนเคยผูกมิตรสันถวะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีอักษรติดต่อถึงกัน เพราะฉะนั้นพระนางย่อมเสวยสุขสำเริงพระหฤทัยมาตลอดเวลา ๖ เดือน ซึ่งทรงพระครรภ์ตามปรกติภาพ
ครั้นเดือนถัดไป อุปัทวเหตุอันน่าสยดสยองอย่างเคราะห์ร้ายที่สุดได้ท่วมถึงพระนาง จับทรงพระประชวรโรคถึงสังหารพระชีวิต ซึ่งในชั้นแรกดูเหมือนพอจะรักษาให้หายได้ บรรดาแพทย์หลวงและหมอฝรั่งเชื่อว่า พระภยามัยเช่นนี้ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับสตรีมีครรภ์
ไม่อัศจรรย์ถึงน่าตระหนกตกใจอย่างใดเลย ด้วยเป็นแตทรงพระอาเจียนเนือง ๆ และเบื่อพระอาหารเท่านั้น แต่อาการพระโรครุนแรงขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศก ๒๓๙๕ คือจับปวดพระอุทร แพทย์หลวงถวายอภิบาล ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียน ปวดพระอุทรอยู่เพียง ๔.๕ วัน
ครั้นเดือนถัดไป อุปัทวเหตุอันน่าสยดสยองอย่างเคราะห์ร้ายที่สุดได้ท่วมถึงพระนาง จับทรงพระประชวรโรคถึงสังหารพระชีวิต ซึ่งในชั้นแรกดูเหมือนพอจะรักษาให้หายได้ บรรดาแพทย์หลวงและหมอฝรั่งเชื่อว่า พระภยามัยเช่นนี้ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับสตรีมีครรภ์ไม่อัศจรรย์ถึงน่าตระหนกตกใจอย่างใดเลย ด้วยเป็นแตทรงพระอาเจียนเนือง ๆ และเบื่อพระอาหารเท่านั้น แต่อาการพระโรครุนแรงขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศก ๒๓๙๕ คือจับปวดพระอุทร แพทย์หลวงถวายอภิบาล ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียน ปวดพระอุทรอยู่เพียง ๔.๕ วัน
ตั้งแต่วันจันทรุปราคาที่ ๑ กรกฎาคม ก็ดูเหมือนพระนางหายประชวร ทรงพระสำราญเป็นปรกติตลอดมาได้ราว ๔๐ วัน ครั้นพระครรภ์ล่วงเข้า ๗ เดือน พระโรคปวดพระอุทรก็กลับเป็นมาเหมือนคราวก่อนและจับทรงพระอาเจียนร่ำไปในราตรี วันที่ ๑๐ สิงหาคม ครั้นรุ่งขึ้น ก็ปรากฏพระอาการไข้พระองค์ร้อนยิ่งขึ้น จนวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ้นนั้มก็ทรงพระทุเลาขึ้น เกือบจะทรงพระสบายเหมือนคราวก่อน เป็นแตยังทรงอ่อนเพลียอยู่ เสวยพระอาหารมิใคร่ได้ดังปรกติ ครั้นราตรีวันที่ ๑๗ สิงหาคม พระนางกลับล้มประชวรพระโรคอย่างเดิมอีก แต่ยิ่งร้ายแรงกว่าเคยเป็นมาครั้งก่อน การทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียนก็กำเริบเรื่อยทั้งทิวาราตรีกาล ซ้ำรัญจวนพระอุทรรวดเร้า จนเห็นกันว่าน่าที่จะประสูติพระราชดนัยเสียเป็นแม่แล้วก็เป็นจริงสมคาด.
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม เวลา ๑ นาฬิกาหลังเที่ยง สมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสีประสูติพระราชกุมารบรมราชโอรสโดยเรียบร้อยและมีพระชนม์ เป็นแต่พระกำลังอ่อนและพระองค์ย่อมทรงพระกันแสงและแสดงอาการอย่างชีวิทารกแรกเกิดโดยปรกติ เพราะฉะนั้น จึงเป็นข้อส่อดุษฎีภาพทั่วไป ในมิช้าพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายหน้าก็มาชุมสุมเนืองอนันต์ เพื่อชื่นชมพระบารมีถวายพระพรรัชทายาทซึ่งเสด็จอวตารมาโดยมหาประสูติ
ชาวประโคมก็ประโคมดุริยดนตรีเป่าสังข์กระทั่งแตรย่ำฆ้องชัยนฤนาถเพื่อสำแดงโสมนัสประโมทย์ในมหามงคลฤกษ์ เชิญพระราชโอรสบรรทม ณ พระแท่นแว่นฟ้าทองหุ้มด้วยพระกระโจมเศวตวัตถา สองพระแสงราชาวุธ พระสุด และดินสอ ฯลฯไว้รอบล้อมตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ระแวดระวังพิทักษ์พระกุมารอย่างกวดขัน แต่ต่อเวลาพระประสูติมาอีก ๓ ชั่วโมงเท่านั้น พระอัสสาสะปัสสาสะพระราชกุมารก็หยุดลงเสียเฉย ๆ ใน ๔ นาฬิกาหลังเที่ยงวันนั้น พระชีพดำรงอยู่ได้น้อยเวลานัก
เจ้าพนักงานเชิญพระศริระพระกุมาร(ลงกุมภ์ขนัน)ไปเสียเป็นการลับมิให้พระนางราชมารดาทราบเงื่อนสาย ทำประหนึ่งว่าเชิญไปพิทักษ์ไว้ในห้องอื่น ด้วยแม้ประสูติพระราชกุมารแล้วพระอาการพระนางก็ยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม และในราตรีแรกพระอาการยิ่งกลับทรุดลงโดยทรงพระ
อาเจียนจะเสียพระชีพลงในราตรีวันที่ ๒๓ สิงหาคม นั้นอยู่ร่อแร่ ได้ประชุมแพทย์หลวงปรึกษากันเพื่อพยายามแก้ไขให้ฟื้น แต่ไม่มีแพทย์ไหนสามารถให้สงบพระอาเจียรได้แม้แต่เพียงครึ่งชั่วโมง พระบรมวงศ์เธอ (ชั้น๒)กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงพยายามถวายยาฝรั่งเพียง ๑
หรือ ๒ หยด ฤทธิ์ยานั้นระงับพระอาเจียนซึ่งพระนางต้องทรงพระทรมานความลำบากมาเกือบตลอดคืนนั้นให้สงบลงได้ ค่อยทรงพระสบายถึงบรรทมหลับได้เมื่อ ๔ หรือ ๕ นาฬิกาก่อนเที่ยง
ครั้นรุ่งขึ้น (วันที่ ๒๓ สิงหาคม) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ(ชั้น๒) กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และพระเจ้าบรมวงศ์ พระอนุวงศ์ องค์อื่นอีกหลาย ทั้งพระญาตินางในประชุมปรึกษากับแพทย์หลวงมากท่าน เพื่อจะให้หมอ ดี.บี.บรัดเล ผู้เป็นหมออเมริกันซึ่งบัดนั้นอยู่ในกรุงสยาม และตรัสให้เชิญมาปรึกษาหารือด้วยนั้นถวายอภิบาล
ลำดับนั้น หมอ ดี.บี.บรัดเล ก็เริ่มรักษาตามวิธีแพทย์ฝรั่งอย่างใหม่ ซึ่งหมอผู้น้นเองเพิ่งพามาใช้ในกรุงสยาม ในจำพวกชาวสยามไม่มีใครใคร่เชื่อนัก มีแต่เห็นจำเป็นสมควรจะปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระนางเอง เพื่อให้ถวายอภิบาลตามลัทธิของไทยที่เคยใช้ในยามสตรีคลอดบุตรตามปรัมปรามา พระนางก็ต้องบรรทมเพลิงอย่างใช้กันทั่วประเทศ เมื่อแม่หญิงคลอดบุตร ถ้าจะห้ามเสียตามคำแนะนำของหมอฝรั่ง ทั้งขับนางในซึ่งรอบล้อมพระนางอยู่ให้ออกเสียสิ้น เหลือไว้น้อยนางเฉพาะที่นิยมนับถือหมอฝรั่ง ฉะนั้น ก็ย่อมจะเป็นข้อเดือดร้อนทั่วไป
ตั้งแต่หมออเมริกันถวายอภิบาลอย่างฝรั่งมา ดูเหมือนพระอาการไม่ดีขึ้นเลย การที่ทรงคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียนทั้งทรงสะท้านไข้ ก็ยังเป็นอยู่เสมอเป็นครั้งคราวไม่ระงับได้ขาดตลอดเวลา ๗ หรือ ๘ วัน เมื่อถึงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ ๗ จำเดิมแต่เจ้าฟ้าพระราชโอรสน้อยของพระนางสิ้นพระชนม์ (เจ้าฟ้าเป็นคำนำพระนามอันสมพระอิสริยยศพระราชโปดก ซึ่งประวัติจากพระเจ้าแผ่นดินและพระอัครมเหสีหรือพระขัตติยนารีอันสูงศักดิ์ หรือประสูติจากเจ้านายชั้นอื่น ๆ บรรดาพระมารดาทรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าหรือเป็นเจ้าฟ้าทั้งอุภโตปักษ์ ในประเทศสยาม)พระนางเจ้าทรงทราบข่าวสิ้นพระชนม์แห่งเจ้าฟ้าพระราชโอรส จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอัครมเหสีพร้อมกันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายมหัคฆภัณฑ์แด่พระสงฆ์พุทธชิโนรส บรรดามาชุมนุมและทรงโปรยทานบรรจุเงินตราสยามในผลมะนาวพระราชทาน แด่บรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งฝ่ายในฝ่ายหน้าบรรดาเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในเวลาทรงบำเพ็ญทักษิณาทานุทิศนั้น การเช่นนี้เป็นประเพณีการพระศพสมเด็จพระราชโอรสเจ้าฟ้า(ต่อมาออกพระนามว่าเจ้าฟ้าโสมนัส) พระโอรสของสมเด็จพระนางเจ้า แม้มีพระชนม์อยู่เพียงชั่วสามนาฬิกาก็ยังคงได้ทรงรับพระเกียรติยศสมพระอิสริยศักดิ์
ตั้งแต่วันที่ ๒๔ และ ๓๐ สิงหาคมมา พระอาการสมเด็จพระอัครมเหสีก็ทรุดลง พระอาเจียนเป็นสีดำสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งแพทย์หลวงว่าเพราะน้ำพระดีผสมกับสิ่งอื่นในพระอันตะอันพิการนั้นหลั่งไหล ไข้ซึ่งเคยทรงจับนั้นก็สะท้านรุนแรงมากขึ้น จนพระเทพจรเต้นรุกเร่งถี่มาก หมอบรัดเลจึงกราบทูลอุทรณ์ต่อองค์สมเด็จพระนางเจ้าเอง และพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ขอให้เชิญเสด็จพระนางออกพ้นจากการบรรทมเพลิงอย่างธรรมเนียมไทย ให้หมอได้ถวายอภิบาลอย่างฝรั่งเต็มที่ตามพอใจทุกประการเถิดก็ได้พระอนุญาตตามปรารถนา เมื่อถวายอภิบาลอย่างฝรั่งเต็มที่ ในชั้นแรกพระอาการสมเด็จพระนางเจ้าดูเหมือนจะค่อยทุเลาขึ้นโดยหยุดทรงคลื่นเหียนและไม่ทรงพระอาเจียนทั้งไข้ก็ไม่ทรงจับ แต่ยังเสวยมิใคร่ได้ ทั้งยังทรงอ่อนเพลียเป็นกำลัง
ปรากฏพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ จนถึงวันที่ ๑๑ กันยายน ทรงพระโศผะขึ้นที่พระบาทและพระอติสารอาการปรากฏแก่แพทย์หลวงและพระญาติพระมิตรข้าหลวง ต่างพากันตระหนกตกใจ ปรึกษากันตกลงขอให้ลองให้แพทย์หลวงถวายอภิบาลอย่างไทยอีก พูดตามจริง องค์สมเด็จพระนางเจ้าเองก็ทรงสำนึกมิพอพระทัย ด้วยเป็นฝรั่งทรงเห็นว่าเป็นแขกบ้านค้านเมือง ทั้งวิธีถวาย
อภิบาลอย่างฝรั่งซึ่งถวายพระโอสถมีหยดสุราลงในน้ำใสเพียง ๑ หรือ ๒ ฉลองพระหัตถ์เท่านั้น ให้เสวยบ่อย ๆ ทั้งถ้อยคำของหมอฝรั่งคนนั้น หรือคนไทยที่เชื่อถือหมอ ก็จวนจะไม่น่าเชื่อได้เสียเลย ด้วยหมอรับว่ายังไม่เคยมีตัวอย่างคนไข้ที่ไหนที่หมอเคยรักษามีอาการเหมือนองค์พระนางเลยแต่สักรายเดียว
เมื่อกลับให้แพทย์ไทยถวายอภิบาลอย่างไทยได้ตั้งสามวัน พระอาการพระนางจะค่อยทุเลาขึ้นแม้น้อยก็หามิได้ มีแต่ทรุดหนักลง ทั้งไม่มีหมอหลวงผู้ใดกล้ากราบบังคมทูลพระกรุณายืนยันรับแก้ไขให้ทรงพระสำราญขึ้นได้ เหตุฉะนี้จึงรับสั่งให้หาหมอบรัดเลกลับมาถวายอภิบาลอีกดังเดิม พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้วิธีรักษาสุดแต่ใจ
เมื่อเวลาแพทย์สยามถวายอภิบาลนั้น พระอาเจียนสีดำ สีเหลืองและสีเขียวก็ยังมีอยู่เรื่อยไป ทั้งยอกเสียดในพระอุระประเทศก็ซ้ำแทรกมา วันหนึ่ง ๆ เป็นตั้ง ๗ หรือ ๘ ครั้ง ตั้งแต่ให้หมอบรัดเลกลับถวายอภิบาลใหม่อย่างลัทธิฝรั่งอย่างใหม่ (เลิกใช้ลัทธิอย่างเก่าที่หมอเคยใช้มานมนาน)
ถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ดูเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าทรงพระทุเลาขึ้นเล็กน้อย ด้วยมิใคร่จะทรงพระอาเจียนเป็นสีดำหรือสีเหลืองและสีเขียวซึ่งคาดกันว่าน้ำพระดีไหลลงในพระทรวงก็ห่างและน้อยกว่าวันก่อน ๆ พระไข้ก็สงบแปลกกว่าแพทย์หลวงยังรักษาอยู่ แต่ยังทรงอ่อนเพลียและการทรงปฎิเสธมิเสวยพระอาหารก็ยังคงอยู่ เพราะยังทรงพระอาเจียนอยู่เหมือนทุกๆ วัน ด้วยไม่เคยมีวันใดที่ที่ทรงพระอาเจียนเลย แม้จะถวายพระโอสถไทยฝรั่งขนานไหน ๆ ก็ระงับขาดมิได้เสียทั้งนั้น
เวลาล่วงไปน้อยราตรี หมอบรัดเลก็ไม่สามารถจะบรรเทาพระอาเจียนให้น้อยลงได้ ซ้ำกลับบ่อยๆ หนักขึ้น พื้นพระอาการออกน่าสะทก ด้วยพระฉวีที่พระพักตร์และพระองค์ก็เหลืองแลเห็นถนัด เหตุฉะนั้นจึงต้องปล่อยให้หมอหลวงฝ่ายไทยถวายอภิบาลต่อไปอีกดังเดิม แต่แพทย์หลวงทั้งสิ้นไม่มีใครกล้ารับที่จะฉลองพระเดชพระคุณแก้ไขให้หายหรือแม้จะให้บรรเทาได้ไหว โดยหมดวิชาและสติปัญญาจะประกอบพระโอสถ เหตุฉะนั้น จึงทราบพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ป่าวร้องประกาศจะพระราชทานบำเหน็จเงินตรา ๒ หาบ หากผู้ใดสามารถแก้ไขให้พระอัครมเหสีที่ทรงพิศวาสพ้นมรณามัยพินาศกลับคืนทรงพระสบายปรกติดังเดิมได้
จำเดิมแต่พระอาการทรุดหนักลงในมือหมอบรัดเล พระเทพจรก็เร็วทวีขึ้น ถึง ณ วันที่ ๒๗ กันยายน จับเฟือนพระสติ เพราะเมื่อวันประกาศป่าวร้องไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ตั้งบำเหน็จพระราชทาน ๒ หาบ ถ้าผู้ใดแก้ไขสมเด็จพระอัครมเหสีให้ฟื้นจากพระโรคาพาธเป็นปรกติได้นั้น มีหมอเฒ่าไทยเชลยศักดิ์ผู้หนึ่งเข้ามาอาสาฉลองพระเดชพระคุณ ด้วยยาศักดิ์สิทธิ์จนสุดกำลัง แต่ขอตรวจพระอาการก่อน ก็ได้พระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าและตรวจตรา แต่หมอเฒ่าเข้าใจพระโรคผิด อ้างว่า พระโรคพระอัครมเหสีมากมายไปนั้นเพราะรักษาผิดคัมภีร์ภาคครรภรักษา โดยพระนางบรรทมเพลิงน้อยเวลานัก
หมอเฒ่าสมัครจะรักษาด้วยยาศักดิ์สิทธิ์ให้หายเป็นปลิดทิ้งจงได้วาจายืนยันมั่นคงของหมอเฒ่านี้พระนางเจ้าอัครมเหสีทรงหายพระทัยครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศก ๒๓๙๕ เพลา ๖ นาฬิกาหลังเที่ยง เสียงโศกาลัยอาดูรภาพปริเทวนาการแห่งพระประยูรวงศาข้าหลวงในราชสำนักขณะนั้นสร้าสนั่น น่าอเนจอนาถยิ่งนัก
จำเดิมแต่พระอาการทรุดหนักลงในมือหมอบรัดเล พระเทพจรก็เร็วทวีขึ้น ถึง ณ วันที่ ๒๗ กันยายน จับเฟือนพระสติ เพราะเมื่อวันประกาศป่าวร้องไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ตั้งบำเหน็จพระราชทาน ๒ หาบ ถ้าผู้ใดแก้ไขสมเด็จพระอัครมเหสีให้ฟื้นจากพระโรคาพาธเป็นปรกติได้นั้น มีหมอเฒ่าไทยเชลยศักดิ์ผู้หนึ่งเข้ามาอาสาฉลองพระเดชพระคุณ ด้วยยาศักดิ์สิทธิ์จนสุดกำลัง แต่ขอตรวจพระอาการก่อน ก็ได้พระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าและตรวจตรา แต่หมอเฒ่าเข้าใจ
พระโรคผิด อ้างว่าพระโรคพระอัครมเหสีมากมายไปนั้นเพราะรักษาผิดคัมภีร์ภาคครรภรักษา โดยพระนางบรรทมเพลิงน้อยเวลานัก หมอเฒ่าสมัครจะรักษาด้วยยาศักดิ์สิทธิ์ให้หายเป็นปลิดทิ้งจงได้ วาจายืนยันมั่นคงของหมอเฒ่านี้พระนางเจ้าอัครมเหสีทรงหายพระทัยครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศก ๒๓๙๕ เพลา ๖ นาฬิกาหลังเที่ยง เสียงโศกาลัยอาดูรภาพปริเทวนาการแห่งพระประยูรวงศาข้าหลวงในราชสำนักขณะนั้นสร้าสนั่น น่าอเนจอนาถยิ่งนัก
ได้สรงพระศพพระนางเจ้า และทรงเครื่องขัตติยมราภรณ์ศุกลัม ตามพระราชประเพณี พระอัครมเหสีอันสูงศักดิ์ สมพระเกียรติยศอย่างเต็มที่ ห่อด้วยกัปบาสิกะเศวตพัสตร์หลายชั้น แล้วเชิญลงพระลองทอง และสรวมพระชฎากษัตริย์เหนือพระศิโรเพศประกอบพระโกศทอง แห่จากพระตำหนักพระอัครมเหสีในราตรีนั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานไว้เหนือพระแท่นแว่นฟ้า ตรงที่ตั้งพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานอยู่ไตรรัตน์มาส คือ แต่เดือนเมษายน พุทธศก ๒๓๙๔ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ศกนี้
พระศพสมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสีพระองค์นี้ก็ประดิษฐานไว้โดยมหศักดิ์สมพระเกียรติยศอย่างสูง ประดับรอบล้อมไปด้วยสรรพสิ่งอลงกตทั้งปวง บรรดาเฉลิมพระอิสริยยศจนกว่าจะได้พระราชทานเพลิง ซึ่งคงจะกินเวลาราว ๔ หรือ ๕ เดือน ด้วยการสร้างพระเมรุ และประกอบการพระราชพิธีสมพระอิสริยศักดิ์ บางทีจะตกราวเดือนมีนาคมศกนี้หรือเดือนเมษายนศกหน้า (๑๙ มีนาคม ๒๓๙๖)
สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี ผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐพระองค์นี้ เป็นพระราชบุตรีบุญธรรมที่ทรงพิศวาสอย่างยิ่งยวดของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาแต่ยังทรงพระเยาว์ และเลื่อนพระอิสริยยศในราชตระกูลสูงขึ้นจนพระชันษา ๑๓ ปี ทรงดำรงศักดิ์สูงสุดเสมอเจ้าฟ้าพระราชธิดาฝ่ายใน
และได้เป็นพระอัครมเหสีคู่พิศวาสของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าแผ่นดินสยาม มาแต่เมื่อเริ่มคริสตศักราชศกนี้ ทรงพระสำราญพระชนม์ชีพร่วมสันนิวาสกับพระบาทสมเด็จพระบรมราชสวามี โดยถูกต้องขัตติยนิติ
ราชประเพณีผู้เป็นมหากษัตราธิราชสยาม ดำรงพระอิสริยศักดิ์อย่างสูงสุด โดเกษมสวัสดิ์มาได้เพียง ๗ เดือนคือแต่เดือนมกราคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม แต่จำเดิมแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม จนวันที่ ๑๐ ตุลาคม รวม ๒ เดือน หรือ ๖๒ วัน พระนางทรงพระประชวร เมื่อฉะนี้พระนางทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นพระอัครมเหสีอยู่เพียง ๙ เดือน และเศษ
อีกน้อยวันเท่านั้น โดยเหตุที่พระนางมาสู่สวรรคตเสียด้วยอุบัติเหตุ แต่ในเวลากำลังทรงพระวัยเป็นยุพดีกษัตรีย์ทั้งทรงพระคุณสมบัติสมควรเคารพนับถืออย่างยิ่งยอด และยังมีทางจะทรงพระเจริญรุ่งเรืองสืบไปภายหน้า เริ่มแต่ได้เสวยสุขสำเริงอย่างเต็มเปี่ยมมาได้น้อยเวลาฉะนี้ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และท่านผู้อื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ใช่แต่ในกรุงสยาม แต่ยังลามไปถึงอเนกนิกรมนุษย์ในแว่นแคว้นชาวเมืองต่างประเทศด้วย
เมื่อพระอัครมเหสีสวรรคตแล้ว บรรดาแพทย์ ไทย จีน และอเมริกา ลงความเห็นกันว่ามีเหตุอันน่าเชื่ออย่างยิ่ง ที่จะรู้หรือจะเชื่อว่า มูลพระโรคซึ่งยากที่จะบำบัดอย่างยิ่งและในที่สุดถึงทำลายพระชีวิตอันมีค่าสูงสุด แห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระอัครมเหสี ได้เกิดขึ้นโดยลับ ๆ
มาแต่ก่อนราชาภิเษกสมรสกับพระบาททสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นแล้ว ด้วยพระนางทรงอวบพระองค์ผิดธรรมดานารีซึ่งมีวัยเสมอพระนาง และกลับซูบพระกายลงทันทีทั้งทรงพระกาสะด้วยแต่พระปฐมอาการประชวรของพระนางนั้น ภายหลังมาปรากฏขึ้นแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายนนี้
ดังกล่าวแล้วข้างต้นโดยเหตุที่สมเด็จพระนางเจ้าอัครมเหสีพระองค์นี้ แต่เบื้องหลังหม่อมเจ้ากำพร้าพระบิดา และได้มาเป็นพระราชบุตรีบุญธรรมของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินโดยเดชะพระมหากรุณาธิคุณ พระนางจึงเป็นผู้รับมรดก ทั้งสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ บรรดาเป็นของพระบิดา
และพระเจ้าป้า ถึงบัดนี้พระนางหามีพระภาดา หรือพระภคินี ร่วมหรือต่างพระชนนีองค์ใดองค์หนึ่งอีกไม่ เพราะพระนางทรงเป็นพระธิดาโทนของพระชนกของพระนาง จึงบัดนี้หามีตัวทายาทผู้จะรับพระมรดกไม่ บรรดาทรัพย์ศฤงคารของพระนางทั้งสิ้น รวมทั้งตัวเงินตราก็มากทั้งเงินขึ้นประจำปี
หรือพระสมบัติส่วนพระองค์นั้นก็จำต้องตกเข้าพระคลังหลวง เมื่อเสร็จงานพระเมรุพระราชทานเพลิงแล้วตามอย่างธรรมเนียมพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ได้ตกลงพระราชหฤทัยว่า พระสมบัติของพระนางส่วนหนึ่งเป็นจำนวนเงินมาก จะได้จ่ายเพื่อเพิ่มพูนทักษิณกุศล บูรณะสังฆาวาสของพระบิดา
(บางทีจะเป็นวัดราชนัดดาอุทิศถวาย)และของพระเจ้าป้าของสมเด็จพระนางเจ้า(คือวัดเทพธิดา) แต่อีกส่วนหนึ่งจะได้จ่ายสร้างพระอารามใหม่ ที่เขตกำแพงเมืองใหม่แห่งพระมหานครนี้ในพระนามาภิไธยของพระนางว่า “วัดโสมนัสวิหาร”และที่เหลือนอกนั้นจะได้จ่ายบุรณะปฏิสังขรณ์
พระอารามอันจำเป็นต้องช่วยเหลือ เพื่อสาธารณประโยชน์แห่งพระมหานครนี้
อนึ่งเพราะมีคนที่พระนางทรงรู้จักมักคุ้นอยู่แทบจะทุกหัวเมืองในสยามราชอาณาจักรและเมืองใกล้เคียง ยังมีแม้บางท่านในเมืองต่างประเทศ คือ จีน แขก ชวา เป็นต้น บรรดาเป็นพระสหายสนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ย่อมเป็นพระมิตรของพระนางด้วย เพราะภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เหตุฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จดหมายเหตุพระอาการทรงพระประชวรและสวรรคต แห่งสมเด็จพระอัครมเหสีนั้นเป็นภาษาสยาม สำหรับประกาศให้ทราบทั่วพระราชอาณาจักรสยาม รัฐมณฑล และเมืองใกล้เคียงทุกทิศานุทิศ ทั้งให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อได้พิมพ์ส่งไปให้ทราบพระประวัติแห่งพระอัครมเหสีแต่ต้นจนสวรรคต
แก่พระสหายของพระนางที่เป็นชาวอังกฤษ ฯลฯ จะได้ทราบแน่ ถึงเรื่องพระนางโดยมิต้องสืบสวน และเข้าใจไปต่าง ๆ .
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎ บรมอัครราชเทวี ถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกใน รัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
แต่มิใช่ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ในรัชกาลต่อๆมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น